ใช้ชีวิตหนักแบบนี้ ‘ไต’ ยังดีอยู่หรือเปล่า
ปัจจุบันโรคไตถือเป็นภัยเงียบ สาเหตุหนึ่งมาจากการทานอาหารที่มีรสเค็ม ดังนั้นถ้าหากต้องการป้องกันโรคไตควรเริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมการทานอาหารก่อนเป็นอันดับแรก
อาหารยอดนิยมที่มีความเสี่ยงต่อโรคไต
- อาหารญี่ปุ่นที่ต้องใช้น้ำจิ้ม อาทิ ซูชิ ชาบู
- อาหารเกาหลีที่ต้องใช้น้ำจิ้ม อาทิ ปิ้งย่าง
- หมูกระทะ
- แฮม เบคอน
- อาหารที่มีส่วนประกอบของชีส
และนอกจากอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงของโรคไตเรื้อรัง ดังนี้
- โรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
- อายุมาก
- น้ำหนักเกินหรืออ้วน
- สูบบุหรี่
โดยปกติแล้วร่างกายคนเราจะมีไต 2 ข้าง ทำหน้าที่กรองของเสียในเลือด และควบคุมจำนวนน้ำ เกลือแร่ และสารต่างๆ ในร่างกายให้สมดุล โดยหากไตเสื่อมสภาพลงเหลือเพียง 25% จะแสดงอาการของโรค ดังนี้
- ปัสสาวะบ่อยหรือขัด
- ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ
- บวมที่หน้า เท้า
- ปวดหลัง ปวดเอว
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และความดันโลหิตสูง
หากพบอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยจากการตรวจปัสสาวะเพื่อหาโปรตีนที่รั่วออกมา
การดูแลสุขภาพไต
- รับประทานยาเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- ลดน้ำหนัก และหมั่นออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
- หยุดสูบบุหรี่หากคุณยังสูบอยู่
- หลีกเลี่ยงการรับประทนยาแก้ปวดที่ซื้อเองตามร้านยา
- เปลี่ยนการรับประทานเกลือและโปรตีนให้น้อยลง
- จำกัดการดื่มเบียร์ ไวน์ และสุรา
นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายที่ดีแล้ว เรายังต้องหมั่นตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อเช็คสภาพร่างกายของตัวเองว่าอยู่ในสภาพที่แข็งแรงจริงหรือไม่ด้วยนะคะ
ที่มา thaihealth