ท่านชายหลายท่านอาจจะกำลังเผชิญปัญหา เรื่องเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสมุนไพร ถั่งเช่า ว่ามีสารสำคัญและช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง วันนี้เอ็กซ์ต้า มีคำตอบค่ะ
ทำความรู้จักกับ ถั่งเช่า
ถั่งเช่า สมุนไพรที่เรารู้จักกันในนามของ “ไวอากร้าแห่งเทือกเขาหิมาลัย” หรือที่เรียกกันว่า “หญ้าหนอน” เป็นยาสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศจีนมานานนับศตวรรษ โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า Ophiocordyceps Sinesis เป็นเครื่องยาจีนที่มาจากเห็ดรา นิยมใช้เป็นยาบำรุงเพราะมีสารสำคัญที่มีฤทธิ์เป็นยาช่วยบำรุงปอด และบำรุงไต จึงทำให้มีราคาสูงและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
ถั่งเช่า เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ภายในหนอนผีเสื้อกลางคืนที่จำศีลในช่วงฤดูหนาว โดยอาศัยอยู่บนพื้นที่ภูเขาสูงของประเทศจีน โดยส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ทำมาจากถั่งเช่าจะถูกปลูกและดูแลอย่างดีภายในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากถั่งเช่าจากธรรมชาติหาได้ยากและมีราคาที่ค่อนข้างสูง ถั่งเช่าประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นตัวหนอนของผีเสื้อ และส่วนที่เป็นเห็ดบนตัวหนอนมีชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Cordyceps และสายพันธุ์ Cordyceps Sinensis ถั่งเช่าจากทิเบตที่ถูกจัดให้เป็นสมุนไพรหายาก สรรพคุณหลากหลาย และราคาสูง
องค์ประกอบของถั่งเช่า
สำหรับองค์ประกอบของถั่งเช่าประกอบไปด้วยส่วนประกอบด้วยสารต่าง ๆ ได้แก่ สารนิวคลีโอไทด์ เช่น Adenosine กรด Cordycepic Acid กรดอะมิโน สารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ เช่น Galatomannan สารกลุ่มสเตอรอล เช่น Ergosterol หรือ Beta – Sitosterol รวมทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามินบี 12 และแร่ธาตุอีกมากมาย เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม เหล็ก และสังกะสี เป็นต้น
ถั่งเช่ามีสรรพคุณทางยาแผนโบราณ
- ช่วยในเรื่องของการกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ
- ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย
- ช่วยบำรุงการทำงานของไต
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยเพิ่ม Oxygen ในการไหลเวียนเลือด
- ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย
ประกอบด้วยสารต่าง ๆ ได้แก่ สารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ เช่น Galactomannan, สารนิวคลีโอไทด์ เช่น Adenosine, กรด Cordycepic acid, กรดอะมิโน สารกลุ่มสเตอรอล เช่น Ergosterol หรือ Beta – sitosterol, โปรตีน ไขมัน วิตามินบี 12 และแร่ธาตุมากมาย
ผลข้างเคียงจากการรับประทานถั่งเช่า
หากร่างกายได้รับถั่งเช่ามากเกินไป อาจพบอาการ คอแห้ง กระหายน้ำ ริมฝีปากแห้ง ปวดท้องคล้ายอาการจุกเสียด ปวดหัวตุบ ๆ ตาพร่ามัว หากพบอาการเหล่านี้ให้นอนพัก ดื่มน้ำมาก ๆ และลดปริมาณการทานลง หรือหยุดทานจนกว่าอาการจะดีขึ้น
ข้อควรระวังในการใช้ถั่งเช่า
- ผู้ป่วยเบาหวานควรระวัง เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ อาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
- มีฤทธิ์ในการลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด จึงไปเสริมฤทธิ์กับยาลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด หรือกำลังจะผ่าตัด อาจจะทำให้เลือดหยุดไหลช้าได้
- บุคคลที่แพ้เห็ด หนอน
- ผู้ป่วยที่มีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- ผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือ ให้นมบุตร
ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จำหน่ายอยู่มากมาย อย่าลืมที่จะตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด และเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายและสุขภาพของตนเอง
ปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานถั่งเช่า
สำหรับปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานถั่งเช่า โดยแพทย์ได้ให้คำแนะนำว่า ควรรับประทานถั่งเช่าแบบที่เป็นตัวอยู่ในปริมาณ 3 – 9 กรัม ส่วนถั่งเช่าแบบสกัดควรระมัดระวังเรื่องของปริมาณให้ดี เนื่องจากการรับประทานถั่งเช่าแบบสกัดในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้น ก่อนรับประทานถั่งเช่าควรปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดเพื่อความปลอดภัย
ส่วนผู้ที่มีร่างกายร้อนอยู่แล้วควรระมัดระวังในการรับประทานถั่งเช่า เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์อุ่นร้อนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากรับประทานเข้าไปก็จะยิ่งเพิ่มอุณหภูมิภายในร่างกายให้สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดัน ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดในการจ่ายยาให้เหมาะสมในแต่ละคน
สรุปบทความถั่งเช่า
สุดท้ายนี้ จะเห็นได้ว่าถั่งเช่าเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ทำมาจากถั่งเช่ามีหลายระดับ หลายคุณภาพ และหลายราคา ก่อนเลือกซื้อมารับประทานควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร เด็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองให้ได้มากที่สุด
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการถามเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน (no date) ถั่งเช่า ช่วยเพิ่มสมรรถภาพ จริงหรือ? | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล. Available at: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/153/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD/ (Accessed: February 9, 2023).
- ถั่งเช่า ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย (no date) ชื่อเว็บไซต์. Available at: https://www.disthai.com/16484912/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2 (Accessed: February 9, 2023).