ไอค๊อกไอแค๊ก นี่ฉันติดโควิดหรือยังนะ จริงอยู่ที่ อาการไอ เป็นหนึ่งในอาการแสดงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 หรือโควิด 19 แต่!
สาเหตุของ อาการไอ มีได้หลากหลาย ดังนี้
1. ไอเนื่องจากมีการติดเชื้อ
ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โควิด 19 หลอดลมอักเสบ หวัด วัณโรค ซึ่งถ้ามีการติดเชื้อจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการไอ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย และอาจมีน้ำมูกไหล คัดแน่นจมูกร่วมด้วย
2. ไอเนื่องจากมีสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ
เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะ ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ ซึ่งมักจะมีน้ำมูกไหล จาม คันจมูกคันตาร่วมด้วย แต่ไม่ค่อยพบร่วมกับไข้ หรือเจ็บคอ
3. ไอเนื่องจากโรคเรื้อรัง
เช่น กรดไหลย้อนที่ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ โดยมักจะไอมากเวลานอนราบ โดยจะมีอาการร่วม คือ แสบท้อง จุกเสียดแน่นท้อง และมีประวัติการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รับประทานอาหารแล้วนอน
4. ไอเนื่องจากยาบางประเภท
เช่น ยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitors
เมื่อมี อาการไอ เพื่อให้แน่ใจว่าติดเชื้อไวรัสโควิด 19 หรือไม่ ต้องตรวจสอบโดยใช้ชุดตรวจ ATK ซึ่งถ้าขึ้น 2 ขีดแสดงว่าพบเชื้อไวรัสโควิด 19
ทั้งนี้ ทุกครั้งที่มี อาการไอ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมถึงสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำลาย ผู้ที่มี อาการไอ ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง พร้อมกับอยู่บ้านหลีกเลี่ยงจากฝูงชนถ้ามีอาการไอร่วมกับมีไข้
เพื่อบรรเทา อาการไอ ทั้งไอแห้งและไอมีเสมหะ สามารถปฏิบัติตัว ดังนี้
-
ใช้ยาอมและยาจิบบรรเทาอาการไอ ที่จะทำให้ชุ่มคอบรรเทาอาการคอแห้ง ระคายเคืองคอ ที่เป็นสาเหตุของอาการไอ และยังสามารถช่วยขับเสมหะได้
-
จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองคอ และช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียว
-
สวมใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถกันฝุ่นขนาดเล็กหรือ PM 2.5 เมื่ออยู่ในที่ที่มีฝุ่นหนา
-
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และอยู่ในสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ เนื่องจากควันบุหรี่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองคอ
-
หลีกเลี่ยงฝุ่นควัน สเปรย์ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองคอ
-
ใช้เครื่องพ่นไอน้ำเมื่ออยู่ในห้องที่มีอาการแห้ง ความชุ่มชื้นจากเครื่องพ่นไอน้ำสามารถลดอาการระคายเคืองคอ สาเหตุของอาการไอได้
-
ใช้ยาบรรเทาอาการไอ ซึ่งมีทั้งยาที่ช่วยกดอาการไอ เพื่อบรรเทาอาการไอแห้ง และยาละลายเสมหะ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส และร้านยาทั่วไป
ถ้าหากมีอาการไอติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ หรือมีอาการไอเป็นเลือด รวมถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจมีเสียง มีไข้สูง หายใจติดขัด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่เหมาะสม
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 11 กรกฏาคม 2565
- Cough. NHS. 12 January 2021.