ไม้เท้า ที่หัดเดิน รถเข็น แบบไหนที่เหมาะกับผู้สูงวัย
เมื่อพิจารณาดูอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศไทยแล้ว จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มของประชากรน้อยมาก อัตราส่วนระหว่าง ประชากรวัยหนุ่มสาวที่เป็นวัยทำงานและยังมีร่างกายแข็งแรง ต่อ ประชากรที่เป็นผู้สูงวัยลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงวัยอย่างพวกเรา ต้องยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเองให้ได้มากที่สุด
เราสามารถแบ่งระดับของการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุตามระดับขั้นของปัญหา ซึ่งแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระดับติดขัด
ยังสามารถเคลื่อนไหวได้ ดูแลตัวเองได้เกือบทุกกิจกรรม แต่ติดขัด ช้าลง หรือไม่คล่องตัวเหมือนเดิม อาจต้องการอุปกรณ์ช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถใช้อุปกรณ์ได้เอง
2. ระดับเจ็บปวด
ยังสามารถเคลื่อนไหวได้ในบางกิจกรรม เริ่มมีกิจกรรมบางอย่างที่ทำไม่ได้หรือหลีกเลี่ยงเพราะเจ็บปวด ต้องการอุปกรณ์ที่ซับซ้อนขึ้น หรือการรักษาร่วมกับวิธีอื่นเช่นการกินยา ทายา เพื่อลดความเจ็บปวด ในกลุ่มนี้หากมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม จะยังสามารถดูแลตัวเองได้
3. ระดับอ่อนแรง
ความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือการดูแลตัวเองน้อยลงเนื่องจากไม่สามารถทำได้ แต่หากมีผู้ช่วยเหลือ จะทำได้ดีขึ้นในหลายกิจกรรม ต้องการอุปกรณ์ที่เฉพาะเจาะจงกับอวัยวะที่อ่อนแรง ร่วมกับการทำกายภาพหรือการรักษาอื่น รวมทั้งการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อให้ยังสามารถดูแลตัวเองได้มากที่สุด
4. ระดับไม่มีแรง ไม่รู้สึก
ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ต้องมีผู้ช่วยเหลือ
อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุ ต้องการดูแลตัวเอง และทำกิจกรรมที่ชื่นชอบให้ได้มากที่สุดและนานที่สุด ยิ่งดูแลตัวเองได้มาก ทำกิจกรรมได้มาก ยิ่งเป็นการรักษามวลกล้ามเนื้อ และสภาพจิตใจให้มีสุขภาพดีได้มากขึ้น ดังนั้นอุปกรณ์ต่างๆเช่น ไม้เท้า ที่หัดเดิน รถเข็น หรือวีลแชร์ ที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละกลุ่มจึงสำคัญมาก
เรามาดูกันว่า อุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือแบบไหน เหมาะสมกับกลุ่มไหน ระดับขั้นใด
🔰 ไม้เท้า
ไม้เท้าสามารถช่วยรองรับน้ำหนักได้ถึง 1 ใน 4 ของน้ำหนักร่างกาย เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับกลุ่มผู้มีปัญหาข้อระดับติดขัด-เจ็บปวดเล็กน้อย ไม้เท้าจะช่วยพยุงไม่ให้ล้ม ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มความมั่นใจและทำให้ผู้สูงอายุยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตัวเอง ไม้เท้าที่ดีควรมีความแข็งแรงมั่นคง รับน้ำหนักได้ ไม่ลื่น ที่จับเหมาะมือ น้ำหนักเบา และมีความสูงที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ไม้เท้าบางชนิดสามารถตั้งอยู่เองได้ เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ไม่ต้องหาที่วาง ไม่ต้องก้มเก็บเวลาไม้เท้าหล่นล้ม
🔰 ที่หัดเดิน เครื่องช่วยเดิน (walker)
เหมาะกับระดับเจ็บปวดมาก หรืออ่อนแรงบางส่วน ที่หัดเดินมีความมั่นคงและสามารถรับน้ำหนักของร่างกายได้มากกว่าไม้เท้า ที่หัดเดินมีทั้งแบบมีล้อร่วมและแบบไม่มีล้อ หากแขนยังสามารถยก walker ไหว ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีล้อ ที่หัดเดินแบบไม่มีล้อจะมั่นคงกว่า การใช้ walker ช่วยเดิน ไม่สามารถใช้ขึ้นลงบันไดได้ ควรใช้กับพื้นราบจะปลอดภัยมากที่สุด
🔰 รถเข็น หรือ วีลแชร์ wheelchair
ใช้กับระดับอ่อนแรงมาก หรือไม่มีแรง ไม่รู้สึก รถเข็นวีลแชร์มีทั้งแบบล้อใหญ่ด้านหน้าและล้อใหญ่ด้านหลัง รถเข็นวีลแชร์ที่มีล้อใหญ่ด้านหลังจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข็นเองได้ง่าย ควรเลือกที่นั่งกว้างเหมาะสมกับผู้ใช้งาน หรือเลือกขนาดมาตรฐาน ไม่แคบจนเสียดสีกับร่างกายจนเกิดบาดแผล น้ำหนักเบา อาจต้องมีการทำความสะอาดเป็นระยะเช่นเช็ดเบาะนั่ง ทำความสะอาดล้อ หยอดน้ำมันหล่อลื่น สูบลมยาง
อุปกรณ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีความภาคภูมิใจ ปัจจุบันผู้สูงอายุมีอุปกรณ์ให้เลือกได้มากขึ้น สามารถเลือกหาอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์เหล่านี้ได้จากร้านขายยาและอุปกรณ์การแพทย์ที่มีผู้แนะนำสินค้า หรือสามารถเลือกซื้อบน online ได้ โดยพิจารณาจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ผลิตภัณฑ์
และถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัสทุกสาขาใกล้บ้าน หรือที่ แอปฯ ALL PharmaSee ดาวน์โหลดฟรีที่
Open this in UX Builder to add and edit content
- http://https://www.si.mahidol.ac.th/th/ศูนย์ความรู้สูงวัย/
- http://https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610945020-322_0.pdf
- http://ภัทราวุธ อินทรกำแหง, บรรณาธิการ. ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2552
- http://https://w1.med.cmu.ac.th/rehab/images/Study_guide/06.1%20mobility%20aids.pdf