Office Syndrome อาการปวดที่ชาวออฟฟิศเลี่ยงไม่ได้ จากพฤติกรรมการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อบางส่วนเกิดการอักเสบ
วันนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ การรักษาอาการของโรค “ออฟฟิศซินโดรม” มาฝากกันค่ะ
Office Syndrome คืออะไร
ออฟฟิศซินโดรม เป็นคำนิยามทางการแพทย์ที่ใช้เพื่ออธิบายอาการไม่สบายหรืออาการปวดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในสำนักงานหรือที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยอาการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ ไหล่ หลัง และข้อมือ
การนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยบริเวณ คอ บ่า ไหล่ แขน หรือนิ้วมือ หากปล่อยทิ้งไว้นานวันอาจส่งผลทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อเรื้อรัง และโครงสร้างของกระดูกสันหลังผิดปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น
- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)
- เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (Carpal tunnel syndrome)
- ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (Nerve tension)
- กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (Tennis elbow)
- นิ้วล็อก (Trigger finger)
- ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (Postural back pain)
- หลังยึดติดในท่าแอ่น (Back dysfunction)
การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome
-
การรักษา Office Syndrome ที่อาการ
แพทย์จะให้ยาประเภทที่มีฤทธิ์ระงับอาการปวด หรือคลายกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดชั่วคราว แต่ตัวยาดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรักษาค่อนข้างสั้น เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้ว อาการต่างๆ มักจะกลับมาตามเดิม จึงมีการรักษาแบบทางเลือก เช่น
- การรักษาทางกายภาพบำบัด โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดลดอาการปวด ประคบแผ่นเจลเย็น แปะพลาสเตอร์บรรเทาปวด หรือทายานวดบรรเทาปวด
- การรักษาทางแพทย์แผนจีน โดยการฝังเข็ม ครอบแก้ว
- การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการนวดกดจุดผ่อนคลาย จับเส้น
-
การรักษา Office Syndrome ที่สาเหตุ
คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้เหมาะสม ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบททุกชั่วโมง ขณะเดียวกันก็ต้องออกกำลังกายยืดเหยียดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผ่อนคลายและลดอาการตึงคอ บ่า ไหล่ หลัง และนิ้วมือ ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพที่ไม่ถูกต้อง ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด สามารถทำได้ทุกเวลาที่ต้องการ หากทำได้ดังนี้ อาการออฟฟิศซินโดรมจะไม่มาเข้าใกล้ทุกท่านอีกอย่างแน่นอน
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ วิธีบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยตัวเอง (คลิก)
ที่มา
RAMA CHANNEL